ผู้สูงอายุ

สำหรับผู้สูงอายุเพื่อเข้าศึกษาคลิปวิดีโอ เนื้อหาจากชุดความรู้ และทำกิจกรรม

เจ้าหน้าที่

สำหรับพยาบาลและจิตอาสาเมื่อต้องการบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

จัดการระบบ

สำหรับการบริหารจัดการระบบ Rakjai.com

แนวคิดและหลักการ

โปรแกรมประยุกต์ความร่วมมือการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์การจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยบุคลากรสุขภาพ เช่นพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง เช่น สมาชิกครอบครัวหรือสมาชิกในชุมชนหรือจิตอาสา ร่วมกับแนวคิดการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจซึ่งเป็นกระบวนการปรับตัวและการจัดการกับปัญหาภายหลังประสบกับเหตุการณ์ร้ายในชีวิตหรือสถานการณ์โรคระบาด การปรับตัวโดยการเข้าใจยอมรับประสบการณ์ยากลำบากจากสถานการณ์ในชีวิต มีมุมมองชีวิตเชิงบวก ปรับอารมณ์เชิงบวก สามารถจัดการกับปัญหาอย่างเหมาะสม การรับรู้ความสามารถของตน สามารถฟื้นสภาพของการทำหน้าที่ต่างๆในการดำเนินชีวิต มีเป้าหมายในชีวิต และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นลักษณะสำคัญของการดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก 1) การสร้างความไว้วางใจ โดย การสังเกตอารมณ์ของผู้สูงอายุ การให้ระบายความไม่สบายใจ การรับฟังปัญหาจริงๆ การให้ข้อมูลที่ต้องการ 2) การดูแลเสมือนญาติ เหมือนการดูแลคนในครอบครัว ดูแลอย่างเป็นผู้ให้ความรัก ความเอาใจใส่ การดูแลใจเป็นการให้กำลังใจ เป็นสื่อเชื่อมกับครอบครัว และ3) การดูแลทำให้ผู้สูงอายุรับรู้ถึงความพร้อมของการช่วยเหลือ การสร้างเครือข่ายการดูแล

รูปแบบการใช้งานโปรแกรม

เมื่อผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบแล้ว จะต้องทำแบบประเมินก่อนเรียน จึงจะเข้าศึกษาเนื้อหาในแต่ละโมดูล ไม่สามารถศึกษาข้ามเนื้อหาได้ เมื่อศึกษาครบแล้ว ให้ทำแบบประเมินหลังเรียนเป็นอันเสร็จสิ้นการใช้งาน


แนวคิดและหลักการ

โปรแกรมประยุกต์ความร่วมมือการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ  พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์รูปแบบและเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่ม ผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โปรแกรมนี้มีการดําเนินกิจกรรมในรูปแบบพื้นฐานของการสื่อสาร เช่น เทคนิคการฟังอย่างตั้งใจ การเอาใจใส่ในทุกการแสดงออกของผู้สูงอายุและครอบครัวทั้งการแสดงออกทางภาษา และอวัจนภาษา รวมทั้งมีการเสริมสร้างแรงจูงใจในการดําเนินชีวิตและผู้สูงอายุและครอบครัวอย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรม มีรายละเอียดดังนี้

Module 1 การดูแลตนเองเมื่อ COVID-19 เป็นโรคประจําถิ่น
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง
สาระสําคัญ กิจกรรมใน Module นี้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการสร้างสัมพันธภาพและขั้นตอนการสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องในการป้องกันกันการติดเชื้อ COVID-19

Module 2 การจัดการกับความวิตกกังวล ซึมเศร้า
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรับรู้อารมณ์ของตนแอง และส่งเสริมการจัดการกับความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้อย่างเหมาะสม
สาระสําคัญ กิจกรรมใน Module นี้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการดําเนินกิจกรรม และขึ้นตอนการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ของตนเอง และการจัดการที่เหมาะสม

Module 3 การปรับตัวเชิงบวก ในความคิดและอารมณ์เชิงบวก ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างให้ผู้สูงอายุสามารถดําเนินชีวิตประจําวันได้อย่างเหมาะสม ผ่านการปรับความคิด และอารมณ์เชิงบวก
สาระสําคัญ กิจกรรมใน Module นี้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการดําเนินกิจกรรม และขั้นตอนการสร้างความตระหนักและเสริมสร้างความคิดและ
อารมณ์เชิงบวก

Module 4 กําหนดเป้าหมายชีวิต และการจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างให้ผู้สูงอายุสามารถจัดการกับปัญหาในการดําเนินชีวิตประจําวันได้อย่างเหมาะสม
สาระสําคัญ กิจกรรมใน Module นี้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมในการดําเนินกิจกรรม, ขั้นการปรับความคิดเชิงบวกในการดําเนินชีวิตประจําวัน และ ขั้นการจัดการความเครียด และการเผชิญปัญหาในชีวิตประจําวัน

Module 5 การรับรู้ สนับสนุนช่วยเหลือ และสร้างเครือข่ายทางสังคม
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างให้ผู้สูงอายุพัฒนาทักษะด้านสังคม และรับรู้เกี่ยวกับแหล่งสนับสนุนทางสังคมในการดําเนินชีวิต
สาระสําคัญ กิจกรรมใน Module นี้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมในการดําเนินกิจกรรม ขั้นการจัดการความเครียด และการเผชิญปัญหาในชีวิตประจําวัน และขั้นการพัฒนาทักษะทางสังคม และการรับรู้แหล่งสนับสนุนทางสังคม

บทความ

แกลลอรี่ของเรา